แผนกลยุทธ์การพัฒนาฯ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาตามความต้องการของชุมชนอย่างมีคุณภาพ
     กลยุทธ์
     1.1 พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นตามหลักเกณฑ์หลักสูตรอนุปริญญาในสาขาวิชาที่เปิดสอน
     1.2 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาจัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อตอบสนองตามความต้องการของชุมชน
     กลยุทธ์
     2.1 พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน 
     2.2 ส่งเสริมการฝึกอบรมตามความต้องการของชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการจัดบริการทางวิชาการให้กับชุมชน
     กลยุทธ์
     3.1 พัฒนาการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน
     กลยุทธ์
     4.1 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชน
     4.2 ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยให้กับชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและศึกษาภูมิปัญญาชุมชน
     กลยุทธ์
     5.1 ส่งเสริมและร่วมมือการจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
     5.2 พัฒนาข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพตามหลักการบริหารที่ดี
     กลยุทธ์
     6.1 พัฒนาระบบควบคุมตรวจสอบภายในและบริหารความเสี่ยงของทุกกลุ่มงานให้มีประสิทธิภาพ
     6.2 พัฒนาระบบการจัดการความรู้ (KM) 
     6.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) 
     6.4 พัฒนาบุคลากรให้มีความชำนาญทางวิชาชีพในทุกระดับ

 

ตัวชี้วัดตามประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  1  การพัฒนาการจัดการศึกษาตามความต้องการของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

 

กลยุทธ์

 

ตัวชี้วัด

1. การพัฒนาการจัดการศึกษา

    หลักสูตรอนุปริญญาตาม

    ความต้องการของชุมชนอย่างมี

    คุณภาพ

         

1.1 พัฒนาคุณภาพการจัด

      การศึกษาให้เป็นตาม

      หลักเกณฑ์หลักสูตร

      อนุปริญญาในสาขาวิชาที่

      เปิดสอน

1. ร้อยละผู้สำเร็จการศึกษามีอัตรา
    การมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ 70  

2. ความพึงพอใจของนักศึกษาในการ
    จัดการเรียนการสอนอย่างน้อยอยู่
    ในระดับดี

3. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
    ผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับมาก

4. ผู้สอนทุกคนที่มีคุณวุฒิตามกรอบที่
    สวชช.  กำหนด

5. จำนวนครั้งที่ผู้สอนได้รับการ
    พัฒนาศักยภาพ  1  ครั้ง
    ต่อหนึ่งภาคเรียน

6. ผลการนิเทศการจัดการศึกษาอยู่ใน
    ระดับดี

1.2 ส่งเสริมการจัดกิจกรรม

      พัฒนาคุณลักษณะ

      ที่พึงประสงค์แก่นักศึกษา

7. ผู้เรียนผ่านกิจกรรมพัฒนา
    คุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่
    นักศึกษาทุกคน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  2  การพัฒนาจัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อตอบสนองตามความต้องการของชุมชน                  

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

 

กลยุทธ์

 

ตัวชี้วัด

2. การพัฒนาจัดการศึกษา

    หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อ    

    ตอบสนองตามความต้องการ

    ของชุมชน     

 

 

2.1 พัฒนาหลักสูตรที่ตอบ
      สนองความต้องการของ
      ชุมชน

8. จำนวนหลักสูตรที่พัฒนาตาม

    ความต้องการของชุมชน 

    อย่างน้อย 2 หลักสูตรต่อปี

 

2.2 ส่งเสริมการฝึกอบรม
      ตามความต้องการของ
      ชุมชน

9. ความพึงพอใจของผู้เข้ารับ

    การฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก

10. ผู้ผ่านการฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้
      ไปพัฒนางานหรืออาชีพร้อยละ 70

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  3  การพัฒนาจัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อตอบสนองตามความต้องการของชุมชน                  

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

 

กลยุทธ์

 

ตัวชี้วัด

3. การส่งเสริมการจัดบริการ

    ทางวิชาการให้กับชุมชน

3.1 พัฒนาการให้บริการ
      ทางวิชาการแก่ชุมชน
      อย่างต่อเนื่อง

11. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
      อยู่ในระดับมาก

12. จำนวนชุมชนที่ได้รับบริการ
      อย่างน้อย  3  ชุมชน

 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  4  การพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน                  

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

 

กลยุทธ์

 

ตัวชี้วัด

4. การพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพ

    เพื่อตอบสนองความต้องการ

    ของชุมชน     

 

 

4.1 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อใช้
      ในการพัฒนาชุมชน

13. งานวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบัน/

      การจัดการศึกษาอย่างน้อย

      1 เรื่องต่อปี

14. จำนวนงานวิจัยเพื่อใช้ในการ

      พัฒนาชุมชนอย่างน้อย  1 เรื่อง

      ต่อปี

4.2 ส่งเสริมการถ่ายทอด

      ความรู้จากงานวิจัยให้กับ
      ชุมชน 

15. จำนวนชุมชนที่นำงานวิจัยไปใช้

     ในการพัฒนาชุมชนอย่างน้อย  1

     ชุมชน

 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  5  การส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและศึกษาภูมิปัญญาชุมชน

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

 

กลยุทธ์

 

ตัวชี้วัด

5. การส่งเสริมการทำนุบำรุง

    ศิลปวัฒนธรรมและศึกษา

    ภูมิปัญญาชุมชน

5.1 ส่งเสริมและร่วมมือ

      การจัดกิจกรรม

      ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

16. งานวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบัน/

      การจัดการศึกษาอย่างน้อย

      1 เรื่องต่อปี

17. จำนวนงานวิจัยเพื่อใช้ในการ

      พัฒนาชุมชนอย่างน้อย  1 เรื่อง

      ต่อปี

5.2 พัฒนาข้อมูลสารสนเทศ

      ภูมิปัญญาชุมชน

18. ข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาชุมชน
     1  ระบบ
 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  6  การพัฒนาการบริหารองค์การที่มีประสิทธิภาพตามหลักการบริหารที่ดี

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

 

กลยุทธ์

 

ตัวชี้วัด

6. การพัฒนาการบริหารองค์การ

    ที่มีประสิทธิภาพตาม

    หลักการบริหารที่ดี

6.1 พัฒนาระบบควบคุม

      ตรวจสอบภายในและ

      บริหารความเสี่ยงของ

      ทุกกลุ่มงานให้มี

      ประสิทธิภาพ

19. จำนวนครั้งในการรายงานผลการ

      ตรวจสอบภายในและบริหาร

      ความเสี่ยงของทุกกลุ่มงาน
      จำนวน  ครั้งต่อปี

 

6.2 พัฒนาระบบการจัดการ

      ความรู้ (KM)

20. มีฐานข้อมูลประกอบการบริหาร
      1 ระบบ

6.3 พัฒนาระบบสารสนเทศ

      เพื่อการจัดการ (MIS)

21. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
      1  ระบบ

6.4 พัฒนาบุคลากรให้มีความ

      ชำนาญทางวิชาชีพ

 

22. จำนวนครั้งที่เข้ารับการพัฒนา
      ตามภาระงาน  2  ครั้งต่อปี

23. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับ

      การประเมินผลการปฏิบัติงาน

      อยู่ในระดับดีร้อยละ  80

 

 

 

เป้าประสงค์

     1.  ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ สามารถดำรงตนได้อย่างมีความสุข 
     2.  ผู้สำเร็จการฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาอาชีพและชุมชน
     3.  ชุมชนได้รับบริการทางวิชาการตามความต้องการและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
     4.  ชุมชนนำความรู้จากงานวิจัยไปใช้พัฒนาอาชีพและชุมชน
     5.  ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชนได้รับการสืบสานและจัดทำเป็นสารสนเทศ
     6.  ระบบการบริหารของวิทยาลัยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามหลักการบริหารที่ดี

 

ปรัชญา

   ชุมชนนำหน้า พัฒนาด้วยวิชาการ ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพที่ดีของชุมชน

หลักการ

   1. เปิดกว้างและเข้าถึงง่าย
   2. มีหลักสูตรหลากหลายประเภท
   3. ตอบสนองต่อชุมชนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
   4. เน้นคุณภาพและการใช้ประโยชน์
   5. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
   6. สร้างพันธมิตรกับธุรกิจเอกชน องค์กรของรัฐ และองค์กรเอกชน
   7. ปรับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง
   8. ค้นหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ
   9. เชื่อมโยงกับพันธมิตรทั้งในและนอกชุมชน
 10. ชุมชนเป็นผู้นำ/ร่วมดำเนินการ

วิสัยทัศน์

     "เป็นสถาบันทางวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน"


พันธกิจ

     1.  จัดการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาในทุกสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
     2.  จัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของชุมชน
     3.  บริการวิชาการสู่ชุมชน
     4.  วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สู่ชุมชน
     5.  ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและศึกษาภูมิปัญญาชุมชน
     6.  พัฒนาระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 

ประเด็นยุทธศาสตร์ 

     1.  การพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาตามความต้องการของชุมชนอย่างมีคุณภาพ
     2.  การพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อตอบสนองตามความต้องการของชุมชน
     3.  การส่งเสริมการจัดบริการทางวิชาการให้กับชุมชน 
     4.  การพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน
     5.  การส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและศึกษาภูมิปัญญาชุมชน
     6.  การพัฒนาการบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพตามหลักการบริหารที่ดี

ความเป็นมาของวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง

       จังหวัดสระแก้วเป็น 1 ใน 10 จังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยชุมชน โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งวิทยาลัย ชุมชนสระแก้ว เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2544 และให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดหาและคัดเลือกสถานศึกษา เพื่อเป็นวิทยาลัยชุมชนจังหวัดสระแก้วคณะกรรมการได้ประชุมมีมติให้ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดสระแก้วเป็นวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ในระยะแรกให้ปฏิบัติภารกิจเดิมควบคู่กับภารกิจของวิทยาลัยชุมชนจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เริ่มจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและหลักสูตรระยะสั้นมาตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545

       ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2547 วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว แยกการดำเนินงานจากศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดสระแก้ว ซึ่งจังหวัดสระแก้วโดยนายสมชาย ชุ่มรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว นายศานิตย์ นาคสุขศรี ประธานกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว และคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการโดยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมพิจารณาจัดหาพื้นที่ให้วิทยาลัยชุมชนสระแก้วประกอบกับจังหวัดสระแก้วมีนโยบายให้พื้นที่ที่อยู่ในส่วนของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดสระแก้วเป็นอุทยานการศึกษาของจังหวัดสระแก้ว จึงมีมติให้ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวรชายแดนจังหวัดสระแก้วแบ่งพื้นที่ให้วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จำนวน 43 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา พร้อมอาคารเรียนจำนวน 3 หลัง ห้องน้ำจำนวน 2 หลัง และบ้านพักข้าราชการจำนวน 11 หลัง ซึ่งในส่วนของบ้านพักข้าราชการให้ข้าราชการศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดสระแก้ว ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสระแก้ว และศูนย์วิทยาศาสตร์การศึกษาจังหวัดสระแก้วพักอาศัยอยู่ต่อไปจนกว่าจะไม่มีความต้องการซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และแต่งตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 พร้อมทั้งข้าราชการครู บุคลากรเข้าปฏิบัติงานในวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 เป็นต้นมา 

       วิทยาลัยชุมชนเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ชุมชนใช้ในการพัฒนาคน ชุมชน สังคม และท้องถิ่นอย่างยั่งยืน วิทยาลัยชุมชนเป็นของชุมชน บริหารจัดการโดยชุมชน จึงนับว่าเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ ในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดการศึกษาในระบบเครือข่ายมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชนในจังหวัดก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง เป็นการรวมพลัง ความคิด และก่อให้เกิดพลังปิติในการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการนำความรู้จากภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาผสมผสานและปรับปรุงให้เป็นความรู้ใหม่ เพื่อให้ชุมชนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพที่ทำอยู่ หรือสร้างอาชีพใหม่ ๆ ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิต วิทยาลัยชุมชนมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชนเพื่อนำไปแก้ปัญหาของชุมชน เป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม วิทยาลัยชุมชนจึงเปิดกว้างสำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษา